วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 2
องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์
แนวคิด 
คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน  ดังนั้น  การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์  ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์  องค์ประกอบ  ประเภท  ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์ และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง   ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์
สาระการเรียนรู้ 
            1.ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์
            2.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
            3. ส่วนประกอบของระบบของคอมพิวเตอร์
            4. การวัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์
            5.องค์ประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์
            6.บริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
            1.  เข้าใจลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์
            2. รู้ถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
            3. จำแนกส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
           4. สามารถอธิบายการวัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์
           5. รู้ถึงองค์ประกอบของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
           6.รู้ถึงบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง


บทที่ 2 
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 
            ระบบคอมพิวเตอร์มี  5 องค์ประกอบ
          1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์  หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง  รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น  เครื่องพิมพ์  เครื่องกราดตรวจ  หรือเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) เป็นต้น
          2. ซอฟต์แวร์ (Software)  หรือโปรแกรม  เป็นองค์ประกอบสำคัญของสำคัญลำดับสอง  เป็นสำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน  เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลตามความต้องการในการใช้งานต่าง ๆ
           3. ข้อมูลและสารสนเทศ  เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการเนินการปฏิบัติงาน  จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  และเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทำงานของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้  ข้อมูลต้องมาจากแหล่งกำเนิด  มีความถูกต้อง  กลั่นกรองตรวจสอบ  และมีมาตรฐานโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการค้นหาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. บุคลากร (Peepleware) เป็นบุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับผู้ใช้ผู้บริหาร  ผู้พัฒนาระบบ  นักวิเคราะห์ระบบ  นักเขียนโปรแกรม  เป็นต้น  เป็นองค์ประกอบสำคัญในโอกาสที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
            5. ระบบปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedurces) เป็นคำอธิบายเพื่อสั่งการใด ๆ หรือขั้นตอนการการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ   เพราะเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ทำงานจำเป็นต้องต้องมีการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนลำดับขั้นตอนของคน  และความสัมพันธ์กับเครื่องทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน  เช่น  ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล  ขั้นตอนการประมวลผลปลอดภัย  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้จะต้องมีระเบียบปฏิบัติ  มีการซักซ้อม  เตรียมการ   และมีการจัดทำปัจจุบันมักจะอยู่ในรูปการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Document -  E – Document )  หรือ On – Sever Message  เป็นต้น
 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 
            คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  ขนาดเล็ก  หรือเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงต่ำเท่าใด  จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถจัดการงานขั้นพื้นฐานอันได้แก่  การรับข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลและคำสั่ง  การประมวลผลข้อมูลและการแสดงผลลัพธ์  ส่วนประกอบ  5 ส่วนดังกล่าว  ได้แก่
        1.   หน่วยนำเข้า (Input Unit)        2.   หน่วยประมวลผลกลาง  หรือ ซีพียู (Control  Processing Unit – CPU)        3.   หน่วยความจำ (Memory  Unit)       4.   หน่วยส่งออก  ( Output Unit )       5.   ส่วนต่อประสานกับอุปกรณ์อื่น หรืออุปกรณ์สื่อสาร  (Interface Unit)


             1.หน่วยนำเข้า (Input  Unit)  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลจากภายนอกในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้เพื่อนำไปประมวลผลหรือดำเนินการให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ  ถ้าเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์กับมนุษย์  ส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตา  หู  หรือจมูก ซึ่งมีฮาร์ดแวร์หรือคีย์บอร์ด  เมาส์  จอภาพสัมผัส  ปากกาแสง  แทร็กบอล  สแกนเนอร์   เครื่องอ่านรหัสแท่ง  เป็นต้น  
            2.หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน้าที่แสดงผลหรือให้คำตอบกับผู้ใช้  เป็นหน่วยโต้ตอบกับผู้ใช้  เปรียบเหมือนปากสำหรับพูด  อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์อาจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ อุปกรณ์แสดงผลแบบชั่วคราว เช่น จอภาพ  ลำโพง  เป็น  และอุปกรณ์กลุ่มที่แสดงผล  แบบถาวร  เช่น  เครื่องพิมพ์  เครื่องวาดรูปพล็อตเตอร์  (Plotter)
            3.หน่วยประมวลผลกลาง  หรือซีพียู  (Control  Processing  Unit  - ซีพียู)
เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก  ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน  คือ
            3.1 หน่วยควบคุม (Control  Unit) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้ทำงานประสานกันได้ดี   ถ้าเปรียบเทียบมนุษย์หน่วยควบคุมเหมือนกับระบบประสาทนั่นเอง
            3.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ  (Arithmetic/Logic Unit – ALU) ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องคิดเลขของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่ต่าง ๆ  เช่น การคำนวณบวก  ลบ  คูณ  หาร  การกระทำ  ทางตรรกะ (and  or  not ) การเปรียบเทียบ  เช่น  เปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัว  ว่ามีค่าเท่ากันหรือมากกว่า  น้อยกว่า  ไม่ว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวอักษรหรือเป็นตัวเลขเปรียบเทียบได้  เป็นต้น
            4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
            ทำหน้าที่จัดเก็บคำสั่งและข้อมูลเพื่อการดำเนินการของคอมพิวเตอร์  หน่วยความจำจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่  หน่วยความจำหลัก  และหน่วยความจำสำรอง
            4.1 หน่วยความจำหลัก (Primary  Memory  หรือ Main Memory ) เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งที่ต้องการ  เปรียบเหมือนสมองของมนุษย์  โดยหน่วยความจำหลักที่หากพิจารณาตามความถาวรและความคงอยู่ของข้อมูลสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
            1. หน่วยความจำถาวร  หรือ รอม  (Read  Only Memory -  ROM) ส่วนใหญ่มักจะเก็บไว้ในโปรแกรมระบบ (System  Software) ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปรงแก้ไขได้
            2. หน่วยความจำชั่วคราว  หรือ แรม (Random Access Memory- Ram) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวที่หน่วยประมวลผลกลาง  และเรียกใช้ในระหว่างทำงานได้แต่มีข้อเสียถ้าไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลจะสูญหายทันที  โดยถ้าต้องการเก็บในหน่วยความจำ
            4.2 หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยความจำภายนอก  (Secondary Memory or External  Memmory)
โดยมีการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำหลัก  แต่เก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างถาวร  และไม่สูญหายกรณีไฟดับหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง
            อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทนี้  เช่น  แผ่นดิสเก็ตต์  แผ่นซีดี – รอม ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) แผ่นดีวีดี (Disk Video  Disc- DVD) แผ่นซีดี (Compact Disc –CD) เป็นต้น
            5. ส่วนต่อประสานกับอุปกรณ์อื่น (Interface Unit) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ  ในลักษณะเครือข่าย  ตัวอย่างเช่น  พอร์ต (Port) อะแดปเตอร์  (Adapter) ช่องเสียบขยาย (Expansion slot)          ความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
            โดยปกติหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง  วัดเป็นเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือกิกะเฮิรตซ์ (GHz) ซึ่งหน่วยของความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง  ปกติแล้วสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางจะมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวินาทีสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1  ล้านครั้งต่อวินาที  จะเรียกว่ามีความเร็ว 1 เมกกะเฮิรตซ์  ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง  จะมีความเร็วเพียง 4.77 เมกะเฮิรตซ์  และได้มีการพัฒนาความเร็วในการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบันความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วกว่า    กิกะเฮิรตซ์  โดยหน่วยของความเร็วในการทำงานสามารถแสดงได้ดังนี้

                                                1  KHz                        เท่ากับ    1,000   Hz
                                                1  MHz                        เท่ากับ     1,000,000 Hz
                                                1 GHz                         เท่ากับ     1,000,000,000 Hz
                                   เมื่อความถี่  1 Hz  คือความเร็วในการทำงาน  1  ครั้ง   ต่อ   1  วินาที

                      บริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง
                        ไมโครโปรเซสเซอร์หรือหน่วยประมวลผลกลาง  มีผู้ผลิตอยู่หลายบริษัท  ในที่นี้จะกล่าวถึงบริษัทที่ทำการผลิตหน่วยประมวลผลกลางที่ใช้ภายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันทั่วไปโดยแต่ละบริษัทจะผลิตออกมาหลายระดับ  เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้เมาะกับการใช้งานและงบประมาณ
                           1. อินเทล (Intel)
                               บริษัทอินเทล  เป็น 1 ใน 3 บริษัทของผู้ที่ทำการบุกเบิกเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal  Computer ) ได้แก่  บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) , บริษัทอินเทล ที่เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ  Pentium ซึ่งมีด้วยกันหลายรุ่น  ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ได้แก่  Pentium , Pentium  Pro , Pentium MMX, Pentium II XEON, Pentium III , Pentium III XEON, Pentium 4
                             2. เอเอ็มดี  บริษัท Advanced  Micro  Devices ( AMD) เป็นบริษัทที่เริ่มการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่หลังบริษัทอินอินเทล  โดยไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นที่สร้างซื่อให้กลับบริษัทเอเอ็มดี  คือไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น K6 ซึ่งเป็นผลิตออกมาแข่งกับไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น  Pentium II  ของบริษัทอินเทล  โดยจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าถึงเกือบเท่าตัว  แต่มีประสิทธิภาพเท่ากันไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกของ K6 ใช้การเชื่อมต่อแบบ SOCKET  7 ซึ่งเหมือนกับไมโครโปรเซสเซอร์  Pentium  รุ่นก่อนหน้า  ผู้ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ Pentium  สามารถเปลี่ยนไปใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น K6 ได้ทันที  โดยไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงแผงวงจรหลักใหม่  ในขณะที่รุ่น Pentium II เปลี่ยนการเชื่อมต่อกับแผงวงจรหลักเป็นแบบ  Slot – I ซึ่งต้องทำการเปลี่ยแปลงแผงวงจรหลักใหม่  ทำให้  AMD เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้งาน      
ขนาดของหน่วยความจำหลัก (storage  capacity) หน่วยความจำหลักในที่นี้คือแรมซึ่งใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ แบบชั่วคราวเพื่อการประมวลผล  จึงเปรียบเสมือนกระดาษทดในการประมวลผลของซีพียูเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การวัดขนาดของหน่วยความจำหลักมักใช้วัดเป็นหน่วยตัวอักษร(ไบต์) ดังนี้



หน่วยวัด
ตัวอักษร
จำนวนตัวอักษร (ไบต์)
กิโลไบต์ (kilobyte)
เมกะไบต์ (megabyte)
กิกะไบต์  (gigabyte)
เทราไบต์(terabyte)
เพทะไบต์  (Petabyte)
KB
MB
GB
TB
PB
103   ไบต์
106   ไบต์
10  ไบต์
1012  ไบต์
1015   ไบต์

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุป บทที่ 1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    
                  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกัลข้อมูลข่าวสาร และได้ผนวกเอาเทคโนโลยีหลักสองสาขาไว้ด้วยกัน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคม และอาจรวมถึงระบบอัตโนมัติระบบงานพิมพ์ และระบบโทรทัศน์ที่มีแนวโน้มจะผนวกเข้ากันด้วย
                   วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีส่วนช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ คือ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
1.2 การสือสารเกี่ยวกับข่าวสาร
 
สรุป
        ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบบันและต่อไปในอนาคตจำเป็นที่จะต้องมีความู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมเทคโนโลยีสองด้านคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจการศึกษา การทำงาน การรักษาโรค และการบันเทิง เป็นต้น ซึ่งความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้คนในประเทศใดๆ ก็ตามสามารถใช้เป็นตัวชื้วัดความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ส่วนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต้องกระทำอย่างรอบคอบ เพราะต้องลงทุนสูงและไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ สำหรับในระดับประเทศภาครัฐต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่1 ความหมายและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ"เทคโนโลยีสารสนเทศ"(Information Technology) เรียกสั้นๆ ว่า"ไอที"(IT)
1.1"เทคโนโลยี"(Technology)มีความหมายค่อนข้างกว้างโดยทั่วไป หมายถึงสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่างๆ เป็นต้น
1.2"สารสนเทศ"(Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากข้อมุลดิบ (Raw data) จากแหล่งต่างๆ นำมาคำนวณทางสถิติหรือผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเรียกว่า "สารสนเทศ" ข้อมูลที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
1.3"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยมีขั้นตอนต่างๆ

"เทคโนโลยีสารสนเทศ"ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีหลักที่สำคัญ 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิงเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการแสวงหาการจัดเก็บ
และการเผยแพร่แลกเปลี่ยนสารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ตัวเลข ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว ให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดดังนี้
สาขา 1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลตลอดจนการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามความต้องการ
สาขา 2 เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ช่วยทำให้การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ปัจจุบันเปลี่ยนจากสังคมยุคเกษตรกรรมได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและยุคข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถติดต่อสื่อสารกันทั่วโลกได้แบบไร้ขีดจำกัด หรือไร้พรมแดน ที่มักเรียกกันว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” (globalization) อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ยังมีผลกระทบตามมาทั้งด้านลบและด้านบวก เช่น ข่าวเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลทางการค้า การดักฟังทางโทรศัพท์ หรือการสร้างข่าวสารทำให้ผู้อื่นเสียหาย เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีกระทรวงที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวง ไอซีที (ministry of Information and Communication Technology) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยี เพื่อจัดระเบียบและบริหารจัดการ องค์การที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานกับปนะชาชน เว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
2.บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอันมาก อาทิ
1.เทคโนโลยีช่วยเสริมปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
2.เทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น สร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นต้น
3.เทคโนโลยีช่วยทำให้การผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น เช่น การดูสินค้าหรือราคา การสั่งชื้อสินค้าทางโทรศัพท์ หรือทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4.เทคโนโลยีช่วยทำให้ระบบการผลิต สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก มีราคาถูกลง และ ได้สินค้าที่มีคุณภาพ
5.เทคโนโลยีช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา
3. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาคือ เทคโนดลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีรายละเอียดแต่ละเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตาวคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า “ฮาร์ดแวร์” (Hardware) และฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืเรียกว่า”ซอฟต์แวร์”(Software)
1.1 ฮาร์ดแวร์(Hardware) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จอภาพสัมผัส (Touch Screen) ปากกาแสง (Light Pen) เครื่องอ่านแถบบัตรแม่เหล็ก(Magnetic Strip Reader) และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode Reader)
2.อุปกรณ์แสดงผล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เทอร์มินัล
3.หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะประมวลผลโดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งคอมพิวเตอร์
4.หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณและผลลัพธ์ของการคำนวรก่อนที่จะนำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
5.ซอฟต์แวร์(software)
5.1 ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์และเป้นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์รบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (DOS)
-โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows XP
2) โปรแกรมอรรถประโยชน์
ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น WinZip ใช้บีบอัดไฟล์ Anti virus ใช้สแกนและฆ่าไวรัส เป็นต้น
3) โปรแกรมแปลภาษา
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Microsoft Word , Adobe Photoshop เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น โปรแกรมบัญชี เป็นต้น
3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและอื่นๆ เช่น โปรแกรม Hypertext เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูลไกลๆ เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบข้อมูลที่รับอาจส่งเป็น ตัวเลข (Numeric data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ คือ
1. เทคโนโลยีใช้เก็บข้อมูล
2. เทคโนโลยีใช้ในการบันทึกข้อมูล
3. เทคโนโลยีใช้ในการประมวลผลข้อมูล
4. เทคโนโลยีใช้ในการแสดงผลข้อมูล
5. เทคโนโลยีใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร
6. เทคโนโลยีใช้ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล
4.ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาให้มีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
1. ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยจัดระบบสารสนเทศที่มีอยู่มากมายให้มีระเบียบ
3. ช่วยทำให้การสื่อสารมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเป็นอัตโนมัติ
5. ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้
6. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ
7. ช่วยลดบุคลากรในการประมวลผลและผลิตสารสนเทศ
8. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
5.การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวข้อนี้เกี่ยวกันกรนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในธุรกิจ สามารถจำแนกได้เป็น 2 หัวข้อ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ ด้านการสื่อสาร ด้ารการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือผ่านอินเทอร์เน็ตโดยเน้นด้านการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีภายใต้สำนักงานอัตโนมัติ เพื่อลดการสูญเสียทัพยากรให้น้อยลงและก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจะช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานของบุคลากรได้ โดยนำเทคโนโลยีที่นิยมมาใช้ในปัจจุบัน เช่น
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database)
1.3 เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
1.4 เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ (Product Settlement)
1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล (Data Security)
1.6 เทคโนโลยีด้านการทำดิจิทัลให้เหมาะสมที่สุด (Digital Optimization)
1.7 เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)
1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน (Virtual Office)
1.9 เทคโนโลยีระบบการประยุกต์ด้านการสื่อสาร (Messaging Application)
2.แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ผู้บริหารขององค์กรควรคำนึงถึงการเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

2.1ชิป ปัจจุบันได้รับการผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์
2.2หน่วยเก็บ การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคู่ไปกับความเร็วในการประมวณผลของชิป
2.3สภาพเเวดล้อมเชิงออบเจกต์เป็นนวัตกรรมใหม่ในส่วนการเขียนโปรเเกรมเเละการใช้คอมพิวเตอร์
2.4เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
2.5คอมพิวเตอร์เเบบควอนตัมมีการศึกษาค้นคว้าซึ่งนำไปสู่การผลิตหน่วยคำนวณที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า"บิท"
2.6นาโนเทคโนโลยี ในอนาคตอาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุลที่มีความเร็วสูงสุข
6.ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1.ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา จึงต้องเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ควบคุมระบบปรับอากาศ
2.ช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปกระจายทั่วไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนสนใจ มีโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนการสอนทางไกล
3.ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน ระบคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายการศึกษาต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ
4.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ป่า เขา แม่น้ำ
5.ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ อาวุธที่ใช้ทางการทหารยุคใหม่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เช่น จรวดที่สามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างอัตโนมัติ
6.ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมปละพณิชยกรรม การผลิตสินค้าและการจำหน่ายสินค้ามีการแข่งขันกันในตลาดโลกอย่างมาก